บทความเพื่อการเรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วไป

บทความถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
สงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ ดัดแปลง หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความก่อนได้รับอนุญาต

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ภาพจากการอบรม


ภาพจากการอบรม
"อยู่กับลูกให้สนุก"
1-4 พ.ค. 2554


วิถีการเรียนรู้ที่แท้จริงต้อง "ลงมือทำ"







แม่นยำในพัฒนาการ ๖ ขั้น





รู้จักกับความรู้สึกของตนเอง



รู้จักกับตัวเองในแง่มุมใหม่
คนเราแตกต่าง....  อย่างผู้นำสี่ทิศ


รู้จักดินแดนแห่งการเรียนรู้ : "พรมแดนศักยะ"



เตรียมพร้อมเครื่องมือทรงพลัง
เพื่อเล่นอย่างสนุกกับลูก




นั่นคือ... 
จุดประกายความสนุกในตัวเอง





 เพิ่มพลังการสื่อสารที่มีคุณภาพ




และสิ่งสำคัญที่ทุกคนต่างบอกตรงกันว่า
"ได้กัลยาณมิตรร่วมทางเดียวกัน"

เพราะ....จุดหมายไม่สำคัญเท่าระหว่างการเดินทาง










3 ความคิดเห็น:

  1. ขอคัดลอกเสียงสะท้อนจากการอบรม ที่โพสต์ในกระทู้ถาม-ตอบของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มาแบ่งปันกันในบลอคนะครับ

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นจากแม่น้องพราวด์
    ในฐานะผู้เข้าร่วมคนหนึ่ง ของ กระบวนการ "อยู่กับลูกให้สนุก" นะคะ

    ดิฉันคิดว่า ในการเรืยนรู้แบบจิตวิวัฒน์นั้น ถึงจะอยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน แต่ สิ่งที่แต่ละคนจะได้กลับไปนั้นไม่เหมือนกันค่ะ

    แค่เราติดตามกระบวนการไปอย่างมีสติ

    ความคิด ความรู้สึก มันจะผุดพรายขึ้นมาเองตามประสบการณ์ของแต่ละคน

    คำตอบที่ได้ มันเหมือนได้ถูกจัดไว้ให้แล้ว.. สำหรับเรา..

    เหมือนที่ครูบอกไว้ว่า คำตอบนั้น มันมีอยู่แล้ว ในจิดใต้สำนึกของพวกเรา เพียงแต่ เราจะไปดึงมันมาได้อย่างไรเท่านั้น

    ที่มากไปกว่านั้น นอกจากความรู้ที่เราได้ด้วยการติดตามกระบวนการของเหล่าคุณครูแล้ว

    เรายังได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และความรู้สึก ซึ่งเป็นความสนใจร่วมกัน กันผู้ร่วมชั้นเรียน ที่ไม่สามารถหาได้ในตำราเล่มไหนอีกด้วยค่ะ

    การมาร่วมกระบวนการครั้งนี้

    ดิฉันได้อะไรกลับไปมากมายค่ะ แต่ที่จะเขียนนี้เป็นอันที่เป็นความประทับใจส่วนบุคคล ที่ได้ "รู้สึก" นะคะ

    ทำให้ดิฉัน "รู้สีก" ถึงความสำคัญของการมีสติอยู่กับเนื้อกับตัว

    เมื่อก่อนก็ "รู้" นะคะว่ามันสำคัญ แต่ยังไม่ได้ "รู้สึก" ค่ะ

    ให้เสียงลูกเหมือนเสียงระฆังที่คอยเตือนสติ ให้เรากลับมาอยู่กับลมหายใจตัวเองทุกครั้ง ก่อนเข้าไปหาลูก..

    ได้ "รู้สึก" ถึงความสำคัญของ feeling ในการสะท้อนอารมณ์ให้ลูก แบบที่จะติดตราตรึงใจลูกได้

    และได้ฝึกที่จะบอกความรู้สึกของตัวแม่เองก่อน ยอมรับว่า ตัวเอง ก็ยังบอกความรู้สึกได้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมชาติ คงต้องฝึกฝนต่อไป

    ถ้าแม่เองยังไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเอง แล้วจะไปเข้าใจความรู้สึกของลูกได้อย่างไร ใช่มั๊ยคะ

    เข้าใจความหมายของ rank ซึ่งในกรณีของตัวเองกับลูก คือ ช่องว่างระหว่างวัย ต้วโตขตัวเล็ก และ ความเป็นแม่กับลูก

    ซึ่งทำให้รู้ว่า หลายสิ่งที่เราคิดว่าเราทำได้ดีแล้วนั้น เราเข้าใจผิด.. ที่จริง เราสามารถทำได้ดีกว่านี้อีก..

    อย่างดิฉัน เมื่อก่อนก็คิดว่าตัวเองมีความเป็นเด็กอยู่พอตัว กล้าทำน่าเกลียดต่อหน้าคนอื่นได้บ้าง.. มาตอนนี้ รู้แล้วว่า มันยังไม่สุด ๆ เรายังทำได้ดีกว่านี้อีก..

    ได้เข้าใจความรู้สึกของลูกมากขึ้น

    คำตอบที่ดูเหมือนจะจัดสรรไว้ให้สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของดิฉัน อีกอันนึงก็คือ เล่นสนุกกับลูกอย่างมีสติ คือ สนุกแล้วต้องมีสติที่จะคิดพัฒนาลูกไปด้วย..

    สุดท้าย เป็น เคล็ดลับที่ ครูพบ ฝากไว้ คือ

    "เข้าใจง่าย แต่ช่างสงสัย"

    และ 'ไม่เข้าใจ ก่อนที่เด็กจะทำให้เราเข้าใจ (ไม่คิดแทน)"

    ขอขอบคุณ ครูพบ ครูแอน และน้อง ๆ ผู้ช่วย น้องจอย น้องติ๋ง น้องแทน ที่จัดกระบวนการที่ดีและมีประโยชน์มากมาย ต่อพวกเรา

    และขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ผู้ร่วมกระบวนการ ที่ร่วมแบ่งปันค่ะ

    รอท่านอื่นมาแบ่งปันเช่นกันนะคะ ^^

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นจากแม่ปู

    สิ่งที่ได้มาจากค่าย อยู่กับลูกให้สนุก ที่ชัดมากคือ กำลังใจค่ะ จากเพื่อนผู้ปกครอง จากครูพบครูแอน และน้อง ๆๆ ที่ร่วมอบรม และจาก การได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลลูก ๆๆ ที่มีการแสดงออกที่แตกต่างกัน รวมถึงการที่เราจะเตรียมใจ สติ เพื่อ รับมือ กับแต่ละเหตุการณ์ อย่างไรให้ได้ ..รู้สึกประทับใจผู้ปกครองทุกท่านที่พาลูก ๆๆ มาเล่นให้ดู (เพราะต้องใช้ความกล้า ที่ต้องเอาลูก ๆๆ มาอยู่ต่อหน้าคนอื่น และกล้าที่จะทำและรับคำติชม ) ซึ่งทำให้เราได้เห็น และวิเคราะห์ร่วมกัน ถึงวิธีที่เราจะเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับเค้า การได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วย มันทำให้เรามีอารมณ์ และเข้าใจข้อติดขัดนั้นได้ชัดเจน กว่าการดู CD หรืออ่านหนังสือมากค่ะ ..ช่วงนี้ก็พยายามจับอารมณ์ลูก โดยใจเย็นให้มากขึ้น จากที่เคยแต่เล่นให้สนุกอย่างเดียว ก็พยายามเพิ่มอุปสรรค ง่าย ๆๆ
    ให้เขาหาวืธีแก้ บางทีเค้ามีอารมณ์บ้าง ก็ผ่อนตามเค้าไป สำหรับดิฉันซึ่งเคยอ่านแต่หนังสือ ซึ่งไม่เคยได้เข้าอบรมขั้น 1-2 เนื่องจากมาไม่ทันนั้น รู้สึกว่าเห็นภาพแนวทางและนำไปเล่นได้จริงค่ะ แต่ก็ไม่ได้คาดหวังนะคะว่าเค้าจะต้องไปได้เร็วเหมือนลูกเพื่อน ๆๆ ที่มาอบรม พอดีช่วงนี้น้องป่วยเป็นไข้ คุณแม่ร้อนวิชาแต่ก็ไม่ค่อยได้ใช้ คงต้องแผ่ว ๆๆ ไปก่อน

    ความคิดเห็นจากแม่นุ่น
    ค่ายที่สอง "อยู่กับลูกให้สนุก"

    ก็อย่างที่หลายคนเขียน เรายังมีความเป็นเด็กไม่พอ ไม่ยอมถอดหมวกที่ตัวเองใส่อยู่ ไม่ว่าจะในฐานะไหนหรือหน้าที่ไหน ที่สำคัญ อย่ามัวแต่คิด ต้องลงมือทำด้วย เพราะถ้ามัวแต่คิดก็คงจะมีแต่ภาพในจินตนาการ และคงไม่เห็นผลอะไรซักอย่าง มั่นสงสัย คิด และลงมือทำเพื่อแก้ข้อสงสัย ดีที่สุดค่ะ
    ขอขอบคุณ ครูพบ ครูแอนน์ และเพื่อน ๆ ที่เข้าค่ายด้วยกันทุกคน ที่มาร่วมแบ่งปันกัน ดูแลกัน ทำให้รู้ว่าไม่ใช่แต่เฉพาะลูกเราเท่านั้นที่ได้รับการพัฒนาและดูแล แต่รวมถึงตัวเราด้วย ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

    ในค่ายมีคำถามนึง จากครูพบ ถามว่า "คิดว่าความรู้ประเภทไหนสำคัญที่สุด 1. ความรู้จากตำรา 2. ความรู้จากการบอกเล่า 3. ความรู้จากประสบการณ์ตรง" คิดว่าคนที่เข้าค่ายคงได้คำตอบให้กับตัวเอง เพราะขณะที่เข้าค่ายพวกเราก็ทำอยู่ทั้งหมด

    ตอบลบ