ขวบปีที่ 2: ‘นักสำรวจ’ วัยฉันกำลังจะเป็นตัวของฉันเอง
ครั้งแรกของชีวิตที่เด็กยืนบนขาของตัวเองได้
เด็ก ‘หัดยืนบนขาของตัวเอง’ ทั้ง 2 นัย คือ
ด้านร่างกาย
เด็กพัฒนากล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น
ระบบการทรงตัวดีขึ้น เด็กเริ่มสามารถรับน้ำหนักร่างกายของตนเอง และเคลื่อนที่ได้ ด้วยตนเอง
ด้านจิตใจ
เด็กเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง เริ่มพึ่งตัวเองได้
แต่เมื่อร่างกาย และกล้ามเนื้อของเด็กพัฒนาขึ้นจนเด็กสามารถเคลื่อนทีได้เอง (คลาน เดิน) ความกังวลของแม่ก็เพิ่มขึ้น
คำพูดติดปากแม่ในช่วงเวลานี้คือ “อย่า”
นั่นคือครั้งแรกที่แม่เริ่มฝึกวินัยลูกโดยการวางกรอบ กำหนดขอบเขตของการกระทำให้แก่ลูกว่าสิ่งใดทำได้ และสิ่งใดที่ทำไม่ได้ และเป็นไปโดยธรรมชาติ
ดังนั้นการฝึกวินัยเด็กเริ่มได้ตั้งแต่เล็กอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ใช่ต้อง “รอให้โตก่อน” อย่างที่หลายคนเข้าใจ
เพียงแต่เด็กในวัยนี้ความเข้าใจยังน้อย ยังควบคุมตัวเองให้รอคอย อดทนอดกลั้นยับยั้งชั่งใจได้น้อย
จึงยังคาดหวังระเบียบวินัยจริงจังจากเด็กวัยนี้ไม่ได้
นอกจากนี้เด็กยังอยู่ภายใต้แรงขับสำคัญคือ
การพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อ ความเป็นตัวของตัวเอง และความต้องการข้อมูลเพื่อที่สมองจะพัฒนาต่อไป จึงผลักดันให้เด็กในวัยนี้เป็นนักสำรวจที่ไม่อาจหยุดนิ่ง
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเป็นอย่างแรกเมื่อลูกย่างเข้าสู่วัยนี้คือ
การจัดบ้านให้สิ่งแวดล้อมของเด็กปลอดภัยต่อการสำรวจ ปิดลิ้นชัก บานเลื่อน หรือฝาตู้ต่างๆ เก็บงำสิ่งของอันตรายต่างๆ ให้มิดชิดพ้นสายตาพ้นมือเด็ก
เมื่อสิ่งแวดล้อมปลอดัยคำพูดห้ามปรามของพ่อแม่ก็จะลดลง จาก 100 % เหลือสัก 5%
ดังนั้นเมื่อแม่ห้ามเด็กจะเชื่อฟัง เพราะ แม่นานๆ ห้ามที ไม่ได้ห้ามเป็นกิจวัตรจนเด็กหูทวนลม และ เพราะสิ่งที่ห้ามจะเป็นสิ่งอันตรายแท้จริงที่พ่อแม่ยังป้องกันไม่ได้
เด็กเล็กจะอ่านภาษาท่าทางของพ่อแม่ได้เข้าใจกว่าภาษาพูด
แต่เด็กอยู่ในวัยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง
สมองเด็กขับดันให้เด็กสำรวจ และไม่คุ้นเคยกับการถูกขัดใจ
เมื่อแม่ห้าม เด็กจึงรู้สึกขัดใจอย่างยิ่ง แต่ไม่สามารถหาทางออกได้
เพราะ เด็กเล็กยังขาดความสามารถ 4 ประการที่ไม่ทัดเทียมผู้ใหญ่ คือ
- ความรู้ความเข้าใจ
- ความสามารถในการสื่อสาร เจรจารอมชอม
- ความสามารถในการเบียงเบนความรู้สึกขุ่นข้องของตน
- ความสามารถในการยับยั้งใจ อดทนอดกลั้น
เมื่อเด็กถูกขัดใจ จึงไม่อาจหาทางออกได้
จึงย้อนกลับไปหาวิธีที่เด็กคุ้นเคยที่สุดในขวบปีก่อนหน้า คือ ‘ร้องไห้’
ทั้งเพื่อแสดงอารมณ์ และเพื่อสื่อสาร
เด็กจะมีคุณลักษณะใหม่อันหนึ่งคือ “กลัวคนแปลกหน้า” และ “กลัวการแยกจาก” เป็นกลไกเพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายที่จะกรายเข้ามา (separation anxiety)
(รออ่านต่อนะครับ)
มาลงชื่อรออ่านต่อค่ะ ^^
ตอบลบ