บทความเพื่อการเรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วไป

บทความถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
สงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ ดัดแปลง หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความก่อนได้รับอนุญาต

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขวบปีแรกของชีวิต...หยั่งรากแห่งรักให้มั่นคง

เข้าใจพัฒนาการเด็ก 

ขวบปีแรก: ต้องการความช่วยเหลือทุกอย่าง


ยังช่วยตัวเองไม่ได้ 
ต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่นในทุกเรื่อง 
ถ้าไม่ได้ ก็จะรู้สึกกลัว ไม่มั่นคง ชีวิตของ ‘ฉัน’ ขึ้นอยู่กับคนอื่น

เพราะฉะนั้นการเลี้ยงดูเด็กในวัยขวบปีแรก 
พ่อแม่จำเป็นต้องใช้การสังเกตเพื่อให้การตอบสนองที่..
  ตรงกับความต้องการ
  ทันท่วงที
  สม่ำเสมอ

เด็กจึงจะเกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย

“ชีวิตนี้ฉันไม่ต้องกลัวอะไรอีกแล้ว 
เพราะเมื่อฉันต้องการอะไร มีคนที่ตอบสนองฉันได้ 
ฉันจะตะลุยไปข้างหน้าได้” 

เพราะเด็กจะรู้สึกมั่นคงว่ายังมีคนที่จะช่วยฉันเสมอ
และจะพัฒนาเป็นความผูกพัน (Attachment) ที่มีต่อพ่อแม่ไปตลอดชีวิต


ความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยนี้ 
เป็นฐานสำคัญของความรู้สึกวางใจในโลก 
ทำให้คนเรามั่นใจในการเผชิญกับบุคคล และสถานการณ์ต่างๆ ได้

ส่วนความผูกพันกับพ่อแม่ 
เป็นฐานสำคัญของความรู้สึกไว้วางใจในบุคคล
พัฒนาความเห็นอกเห็นใจ (empathy) 
รู้จักคิด และรู้สึกจากมุมของผู้อื่น 
จึงจะสามารถมองเห็นคุณค่าของผู้อื่น 
สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ได้ 
สามารถเชื่อมโยงกับบุคคลอื่น (relating to others)

พัฒนาความสามารถที่จะรัก และรับความรักจากผู้อื่นได้ (to loved and be loved) 
และยังเป็นเสาเอกของจริยธรรมสำคัญ... ‘ความกตัญญู’ 


การสัมผัสอุ้มชูเด็กของพ่อแม่ 
นอกจากจะมีผลกระตุ้นพัฒนาการของสมองแล้ว
วิธีที่พ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกด้วยความอ่อนโยน และเปี่ยมด้วยความรักนี้
จะส่งผลให้เด็กรับรู้ว่าตนเองเป็นที่รักของบุคคลอื่น 

และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem)


นอกจากนี้ การที่พ่อแม่สังเกตและแยกแยะรายละเอียดพฤติกรรมของเด็กได้ 
‘อ่าน’ออกว่าเด็กต้องการอะไร และตอบสนองได้ตามนั้น 
เท่ากับเป็นการเสริมแรง (reinforcement) 
ให้เด็กเรียนรู้ที่มีพฤติกรรมซ้ำเดิมเมื่อมีความต้องการเช่นเดิม

นั่นคือเด็ก และพ่อแม่ เริ่มกำหนดแบบแผนของการสื่อสารระหว่างกันขึ้น
และนี่คือจุดเริ่มแรกของการเรียนรู้ และใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็ก 

การพัฒนาปฏิสัมพันธ์ทำให้สมองของเด็กได้รับการกระตุ้นโดยธรรมชาติ 
สมองมนุษย์จะพัฒนาต่อภายหลังคลอด 
ซึ่งต่างจากของสัตว์ที่พัฒนามาตั้งแต่ในท้องแม่
ลูกสัตว์เกิดใหม่จึงเดินได้วิ่งได้เลย 


การพัฒนาของสมองมนุษย์ภายหลังคลอดนี้จำเป็นต้องได้รับประสบการณ์ตรง 
ต้องการโอกาสในการทำงาน
ซึ่งสมองทำงานอยู่ 2 อย่าง คือ
  รับรู้
  สั่งงาน 

เพราะฉนั้น การให้การสัมผัส (sensory inputs) แก่เด็ก
โดยการสัมผัส อุ้มชู กอดหอม ฯลฯ
จึงเป็นการกระตุ้นเด็กพัฒนาการของสมองเด็กโดยตรง

จากนั้นเด็กจะฝึกบังคับสั่งการร่างกายตนเองให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
เช่น การหันตามเสียง การเอื้อมมือคว้าจับ การมองหน้า และเลียนแบบสีหน้าของแม่ ฯลฯ 

ซึ่งการมีสิ่งเร้าที่เหมาะสม และเพียงพอ 
จะกระตุ้นให้สมองสั่งงานร่างกายได้รวดเร็ว คล่องแคล่วขึ้น 

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีใจจัง มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณครูพบมากที่ยังไม่ลืมพวกเรา เดี๋ยวจะบอกต่อๆ ให้กับเพื่อนๆ นะคะ จะได้เข้ามาอ่านกันเยอะๆ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

    ตอบลบ