บทความเพื่อการเรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วไป

บทความถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
สงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ ดัดแปลง หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความก่อนได้รับอนุญาต

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผมจัดค่ายไปทำไม

ประสบการณ์นำพาการทำฟลอร์ไทม์

 

จากประสบการณ์หลายปีในการเรียนรู้ และทำงานร่วมกับผู้ปกครอง  

ในการใช้การเล่นเพื่อกระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตามแนวคิด DIR/Floortime

ก็เห็นข้อสัเกตบางอย่าง  ที่อยากบอกเล่า

 

พบว่ามีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งที่แม้อยากจะใช้ฟลอร์ไทม์ช่วยพัฒนาลูก 

กลับมีความติดขัด  พบความยากลำบาก  ทั้งในตัวลูกและทั้งในตัวเอง  

ลำพังของลูกก็ยากอยู่แล้ว  

มาเจอข้อติดขัดของตัวเองที่ทำให้ไม่พร้อมช่วยลูก  

ยิ่งยากเข้าไปใหญ่

 

มองในแง่มุมพัฒนาการ  

ไม่เพียงแต่เด็กที่จะมีข้อติดขัดในพัฒนาการ  

ทว่าพ่อแม่ ผู้ใหญ่เองก็มีการติดขัดบนบันไดพัฒนาการนี้เช่นกัน  

บางคนก็พัฒนามาไม่เสร็จ  

บางคนก็พัฒนามาได้ไม่กว้าง  

บางคนก็พัฒนามาได้ไม่ถึง

ในบางด้านบางแง่มุม หรือหลายด้าน หลายแง่มุม    

ซึ่งเมื่อใช้จุดเด่น ด้านถนัดของตัวเองในการพยายามดำเนินชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ให้ได้

ก็ทำได้มาเรื่อยๆ ราบรื่นบ้าง ลุ่มๆ ดอนๆ บ้าง  แต่ก็ถูไถมีชีวิตผ่านวันเวลามาได้  จนถึงวันที่จำเป็นต้องใช้ทักษะบางด้าน

แต่ทักษะนั้นไม่ได้พัฒนามาจนเพียงพอให้ใช้งานได้..  “ตูม!

ปัญหาใหญ่ก็ปรากฎให้เห็นชัดต่อหน้า

 

เล่นไม่ออก เล่นไม่ได้  อาย เขิน  ประหม่า  กลัวเสียหน้า

กล้ามเนื้อไม่ดี  การประสานของร่างกายทำได้ไม่ดี  เหนื่อยง่าย เบื่อเร็ว

เห็นลูกมีอารมณ์แล้วใจสั่นไหว ทนอารมณ์ลูกไม่ได้ต้องรีบทำให้ลูกหยุด รีบทำให้สงบโดยเร็ว  

คิดไม่เป็นระบบ  จับประเด็นไม่ได้  จับหลักจับรองไม่ถูก

แยกความสำคัญไม่ได้  จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังไม่ถูก  คิดเชื่อมโยงไม่ได้

มองเรื่องราวต่างๆ ด้านเดียว คิดยึดติดตายตัว  ขาดความคิดยืดหยุ่น  ใช้เหตุผลไม่ได้ดี  คิดให้เหตผลไม่ตรงตามความเป็นจริง

คาดหวังมาก  แยกแยะความเป็จริงกับจินตนาการไม่ได้ชัดเจ

อยู่กับความคาดหวังที่เกินจริงและมากมาย   วางความคิด และความกังวลลงไม่ได้  

อยู่กับจินตนาการติดอยู่กับความคิดหมกมุ่นจากเรื่องราวในอดีตและปล่อยวงไม่ได้  ฟุ้งซ่านกังวลวิตกหวาดกลัวกับเรื่องราวในอนาคต   จนหาปัจจุบันไม่เจอ

ไม่เห็นปัจจุบันขณะที่ตนเองต้องอยู่และทำกับลูก

ว้าวุ่นวกวนกับเสียงความรู้สึกผิด เสียงกังวล และความคาดหวังของตัวเอง  

จนไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินการสื่อสารของลูกที่อยู่ตรงหน้า แม้ว่าตาจะมอง หูจะฟัง แต่กลับไม่เห็น ไม่ได้ยินลูกเลย”

ภาวการณ์นี้ เป็นข้อติดขัดในการช่วยลูก

 

งั้นจะทำอย่างไร...

 

...................................................

ในอดีตที่ผ่านมา  

ผมพยายามช่วยผู้ปกครองให้เล่นกับลูกได้  

แต่ก็ไม่เป็นผลเท่าใดนักในผู้ปกครองหลายคน

ทั้งทำให้ดู  ทั้งชวนคุยหาข้อสรุป  ทั้งบอกกล่าวความสำคัญ  แต่ก็ไม่เป็นผล  

เมื่อไม่ได้ผลผมก็พยายามให้มากขึ้น  

พูดดังขึ้น  พูดแรงขึ้น  แสดงชัดขึ้น  

เคียวเข็ญมากขึ้น  

ขู่มากขึ้น  ชี้จุดบกพร่อง  ชี้ผลเสียในอนาคตมากขึ้น  

แต่เรื่องกลับตาลปัตร  

แม้มีผู้ปกครองบางคนที่รับได้ เห็นประโยชน์ได้ ทนได้  และนำพาลูกให้พัฒนาขึ้นได้  

แต่กลับมีผู้ปกครองไม่น้อยที่ยิ่งติดขัด  ยิ่งกังวล  ยิ่งเครียด  ยิ่งรู้สึกผิด  

และยิ่งโกรธ

และกลัว ทั้งตัวเอง และผม  

เมื่อลงแรงไป ได้ผลน้อย

ผมก็ยิ่งเพิ่มแรงให้มากขึ้น พยายามให้มากขึ้น      

เรื่องกลับเป็นว่า ยิ่งผมเพิ่มความพยายามเท่าไหร่

พลังงานของความพยายามนั้นก็ยิ่งบดเบียด  

และทำผู้ปกครองถอยห่างไปมากเท่านั้น

 

ผมทุกข์  แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร..

 

จนได้มาเจอกับแนวทางจิตวิวัฒน์  

รู้ได้ว่ามีชุดความรู้อีกชุดใหญ่ๆ ในแง่มุมของมนุษยปรัชญา มนุษยนิยม

ที่อธิบายชีวิต และแนวทางในการดำเนินชีวิตในอีกมุมหนึ่ง

ที่ช่วยให้เกิดการมองโลกภายในได้ และดีขึ้นด้วย  

เป็นอีกทางให้เลือกเดินบนเส้นของการพัฒนาตัวเอง  

ที่สำคัญสอดคล้องกับหลักการของ DIR/Floortime ด้วย

 

เมื่อลองใช้

ก็นำพาผู้ปกครองอีกจำนวนหนึ่งได้ในทันที  

และเมื่อใช้ไป เปลี่ยนตัวเองไป

ก็มีช่องทางในการช่วยผู้ปกครองได้มากขึ้นทีละน้อย  แม้ไม่ทั้งหมดก็ตาม

 

มีของดีก็อยากแบ่งปัน  

มีของใช้งานได้ เป็นประโยชน์กับเด็กได้จริง เรื่องอะไรจะไม่นำมาใช้ช่วยเด็กของเรา?

...ผมจึงจัดค่าย

 

จัดค่ายไปทำไม

ค่ายของครูพบ  ที่จัดให้กับผู้ปกครองมาใน 2 ปีนี้  

จุดมุ่งหมายสำคัญคือ การหาเครื่อมือที่ใช้งานได้  

ในการช่วยคลี่คลายข้อติดขัดเชิงจิตวิทยาภายในตนเอง ซึ่งบางคนอาจใช้คำว่า “โลกภายใน”

อันเป็นตัวล็อค และ บล็อก  

ให้การช่วยเหลือลูกด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ติดขัด ไปได้ไม่ถึงที่สุด  ไปได้ไม่ดี  และกระทั่งไปไม่ได้เลย  

 

ยังคงเป็นค่ายที่อยู่บนจุดมุ่งหมายหลักของวิชาชีพ  

คือ การส่งเสริมทักษะชีวิตจนบุคคลยืนได้มั่นคง อย่างมีศักดิ์ศรี

ในฐานะมนุษย์ที่แท้จริงและเท่าเทียมบนความแตกต่าง    

ด้วยการปรับปรุงสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่และลูก  

การสร้างความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการ  การเลี้ยงดูเด็กแก่พ่อแม่  

และช่วยเหลือพ่อแม่ในการปรับแก้ปัญหาอารมณ์-พฤติกรรมของเด็ก  

 

จนสุดท้ายได้ของขวัญชีวิต 2 ชิ้น คือ

ลูกเติบโตได้ดีบนบันไดพัฒนาการ

มีหลักประกันที่มั่นคงว่าชีวิตจะอยู่รอด

ีกำลัง และความสามารถเพียงพอ

ที่จะดูแลตัวเองในโลกผันผวนใบนี้ต่อไปได้ ด้วยตัวเขาเอง

และ  

บ้านสุขสงบ  

มีสัมพันธภาพในเชิงบวก  

มีความสุขในชีวิตและในบ้าน  

..ปิดฉากสนามรบ!

 

 

……………………………………………..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น